ติดต่อเราได้ที่
icons8-cell-phone-40 086-564-5326 icons8-cell-phone-40 02-003-4318
Thursday, 25 Apr 2024
รักษาการบาดเจ็บของนักกีฬาโดยวิธีกายภาพบำบัด

image001

หลักการรักษาการบาดเจ็บของนักกีฬา

การรักษาจะแบ่งเป็นการรักษาปฐมพยาบาลเบื้องต้นในช่วง 48/72 ชั่วโมงภายหลังการได้รับการบาดเจ็บและการรักษาทางกายภาพ บำบัด ในระยะต่อไป   
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประกอบด้วย R.I.C.E.   
R =  Rest การพักส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บ   
I =  Ice การประคบน้ำแข็งบริเวณที่บาดเจ็บ   
C =  Compression การพันผ้ายืดบริเวณที่บาดเจ็บ   
E =  Elevation การยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บสูง   
นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เป็นอันตราย สมควรหลีกเลี่ยง ห้ามทำในระยะนี้อย่างยิ่ง ได้แก่   
H =  Heat  การประคบร้อนบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ   
A =  Alcohol การดื่มสุรา   
R =  Running or exercising  การวิ่งหรือการออกกำลังส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ   
M =  Massage  การนวดส่วนที่บาดเจ็บ

 

วัตถุประสงค์ของการรักษาในช่วงนี้ ได้แก่
1.  ลดอันตรายต่อเนื้อเยื่อและลดการอักเสบให้เกิดน้อยที่สุด   
2.  ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเลือดและของเสียออกจากบริเวณบาดเจ็บที่บวมอยู่เร็วที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด   
3.  ลดการเกิดพังผืดบริเวณบาดเจ็บ   
4.  ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้งานส่วนที่บาดเจ็บได้ดี   
5.  ทำให้แพทย์ และนักกายภาพบำบัดสามารถวินิจฉัยได้รวดเร็ว มีการบวมน้อยสุด   
6.  ลดระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการฟื้นฟูร่างกาย   
7.  ลดความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บ

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การพัก Rest
-  พักการทำกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ   
-  ถ้ามีการเคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับบาดเจ็บนั้นเร็วเกินไป จะก่อให้เกิดการเลือดออกบริเวณนั้นมากขึ้นอีก และมีการหลุด ของลิ่มเลือด ที่ อุดปากบาดแผลทำให้เลือดออกมากขึ้นอาจทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อมากขึ้น

การประคบเย็น Ice
ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและเนื้อเยื่อรอบๆ ประมาณ 20-30 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง อาจใช้ผ้าขนหนูเปียก ห่อน้ำแข็งหรือ ถุง พลาสติก เพื่อลดปวดและบวม ซึ่งมีข้อควรระวังคือ ผู้ป่วยควรมีการรับรู้ความรู้สึกร้อน เย็นปกติ ไม่ควร ใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้สูงอายุ

การพันผ้ายืด Compression
ใช้ผ้ายืดพันอย่างมั่นคงรอบบริเวณบาดเจ็บ บางครั้งอาจใช้ร่วมกันประคบน้ำแข็ง จุดประสงค์เพื่อลดบวม และลดการ เลือดออกบริเวณ บาดแผล ขณะพันผ้ายืดระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการชาบริเวณปลายต่อ ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ หากเกิด อาการชาต้องคลายผ้ายืดออก

การยกบริเวณที่บาดเจ็บ Elevation
การยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นสูงเพื่อลดอาการบวมและกระตุ้นให้มีการไหลกลับของของเสียจาก บริเวณที่บาดเจ็บข้อ ห้ามใน ระยะนี้ ได้แก่ การประคบร้อน (Heat) การดื่มสุรา (Alcohol) เพราะจะทำให้เลือดออกบริเวณบาดเจ็บมากขึ้น การ ออกกำลัง (Running) จะทำให้ บริเวณบาดเจ็บเกิดการอักเสบมากขึ้นตลอดจนห้ามทำการนวด (Massage) บริเวณบาด เจ็บเด็ดขาดในช่วง 48-72 ชั่วโมง

การรักษาทางกายภาพบำบัดการบาดเจ็บระยะต่อมา
ช่วง Promotion of healing
ต่อจากช่วงระยะเฉียบพลันจะมาสู่ช่วงที่จะกระตุ้นให้เกิดการสมานแผลของบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ คือ ช่วง ระยะหลังบาดเจ็บ 72 ชั่วโมง จนถึง 6 สัปดาห์ (ระยะเวลาในช่วงนี้อาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับระดับการรุนแรงของ การ บาดเจ็บ) ระยะนี้จะมีการซ่อมสร้างสังเคราะห์ คอลลาเจน  Proteoglycan ช่วยเร่งขบวนการสมานแผล การทำกาย ภาพบำบัดในระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดบวม กระตุ้นให้มีออกซิเจน และ สารอาหารไปเลี้ยงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บเพื่อกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ และกันการ สูญเสียการรับรู ้ Proprioceptive ของข้อต่อเหล่านั้น   
การรักษาในระยะนี้ได้แก่ การนวดเบาๆ การใช้เครื่องอุลตร้าซาวน์ เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนย้ายอิออน หรือของเหลว ผ่าน Cell membrane การกระตุ้นไฟฟ้า เช่น การใช้กระแสแทรกสอดความถี่ปานกลาง (Interferential) เพื่อลดปวด และบวม การออกกำลังส่วนที่ได้บาดเจ็บ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยถึงข้อจำกัดของการใช้งานส่วนบาดเจ็บ ใน กิจวัตร ประจำวันที่ อาจก่ออันตรายหรือก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกได้ หากผู้ป่วยมีการจำกัดการเคลื่อนไหว ของข้อต่อ นั้น นักกายภาพบำบัดสามารถ ใช้การ Mobilization เพื่อเคลื่อนไหวข้อต่อ รวมถึงการยืด (Stretching) กล้ามเนื้อ บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถ ใช้ งานส่วนนั้นได้ ใกล้เคียงปกติที่สุด

ช่วงฟื้นฟู (Rehabilitation & Remodelling)
ในระยะนี้จะเน้นการออกกำลังกายที่เพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น ละใช้การยืดกล้ามเนื้อเต็มช่วงการเคลื่อนไหว และใช้การกดขวางใยกล้ามเนื้อ หรือเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ (Deep friction)เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อและเอ็นของ นักกีฬา ให้สามารถ กลับไปรับ load ที่จะเกิด ขึ้นขณะเล่นกีฬาประเภทเดิมได้การออกกำลังนี้จะเน้นทั้งส่วนที่ได้รับอันตราย ส่วนอื่นด้วย หากนักกีฬา มีการลงซ้อมกีฬาจะแนะนำการใส่เครื่องช่วยป้องกันอันตรายเช่นการพันผ้าเทป(Tape) หรือ ผ้ายืด (Bandage) ตลอดจนการใช้ Support ต่างๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก

 

หากมีข้อสงสัยหรือสนใจจองคิวรับบริการสามารถติดต่อได้ที่ 020034318 ในวันจันทร์ถึงเสาร์ เวลา8.30-18.00 น.

 

Credit :        สายธิดา ลาภอนันตสิน

วาสนา เตโชวาณิชย์ สาขากายภาพบำบัด โครงการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์